สายพันธุ์ไก่ชน

                                

                                   สายพันธุ์ไก่ชน


  1.ไก่เหลืองหางขาว

5
มีถิ่นกำหนดเดิมอยู่ที่บ้านหัวเท ตำบลบ้านกร่าง จังหวัดพิษณุโลก ไก่เหลืองหางขาวเป็นไก่ที่ฉลาดปราดเปรียว อดทน ลักษณะเด่นคือ ตัวผู้จะมีสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูเหมือนกันตลอด มีจุดขาว 5 แห่ง คือ ที่ท้ายทอย หัวปีกทั้งสองข้าง ที่ข้อขาทั้งสองข้าง บางตำราเรียกว่า ”พระเจ้า 5 พระองค์” เพศผู้มีสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง เป็นสีเหลืองเหมือนกันตลอด ขนสีตัวเป็นสีดำ ส่วนปาก แข้ง เล็บ เดือย มีสีขาวอมเหลืองคล้ายสีงาช้าง ลูกตาสีเหลืองอ่อน ”เรียกว่าตาปลาหมอตาย” ส่วนเพศเมียมีขนพื้นตัวเป็นสีดำตลอดมีกระขาว 2 หย่อมเหมือนกัน

2.ไก่ประดู่หางดำ

ดู่ดำ
มีถิ่นกำหนดแถวภาคกลาง เพศผู้มีสร้อยคอ สร้อยปี สร้อยหลังและขนปิดหูเป็นสีประดู่ ถ้าสีแก่จะเรียกว่า ”ประดู่เมล็ดมะขามคั่ว” ถ้าสีอ่อนจะเรียกว่า ”ประดู่แดง” หางพัด และกะลวยสีดำปลอด ไม่มีขาวแซม พื้นสีลำตัวไม่มีสีอื่นแซม ตาสีไพร ส่วนปาก แข้ง เดือย เป็นสีเขียวอมดำ หรือดำสนิท เพศเมีย มีขนสีดำสนิทรับกันทั้งตัว ไม่มีสีขาวแซม บางตัวมีขลิบสร้อยคอสีประดู่ ถือว่าเป็นไก่พันธ์แท้ ส่วนปาก แข้ง เดือย ลักษณะเหมือนเพศผู้

3.ไก่ประดู่แสมดำ

ประดูแสมดำ
มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบพื้นที่ภาคกลางเป็นหลัก อาจมีพบในภูมิภาคอื่นบ้างปะปราย ซึ่งในปัจจุบันพบเห็นได้น้อยมาก ลักษณะ เพศผู้จะมีสีสร้อยคอ สนับปีก สร้อยหลังรวมถึงขนปิดหู เป็นสีประดู่ ซึ่งมีทั้งสีประดู่แดงและประดู่เม็ดมะขาม ขนพื้น ตัวเป็นสีดำ ปีกและหางพัดรวมถึงหางกะลวยเป็นสีดำปราศจากสีขาวแซม ปาก และสีตาดำสนิท แข้ง เล็บ เดือย เป็น สีดำ ใบ หน้าจะมีสีแดงคล้ำ(แดงอมดำ) ขอบตาดำ ผิวหนังบริเวณลำตัวจะเป็นสีคล้ำ(แดงอมดำ) ในช่วงที่ยังเล็กอยู่มักจะมีสีผิวดำ ทั้งใบหน้า และบริเวณลำตัวไก่ประดู่แสมดำเพศเมียจะมีขนพื้นตัวเป็นสีดำตลอดตัว ใบหน้าจะมีสีดำชัดเจนมากกว่าตัวผู้มาก ปาก แข้ง เล็บ มีสีดำสนิท

4.ไก่เขียวหรือเขียวแมลงภู่

ไก่เขียวหรือเขียวแมลงภู่ff
เพศผู้มีสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังและขนปิดหู สีเขียวอมดำคล้ายสีแมลงภู่ สีขนพื้นตัวเป็นสีมันดำ หางพัด และหางกะลวยสี ดำตลอด ส่วนปาก แข้ง เล็บ ตา มีสีเขียวอมดำ ส่วนเพศเมียมีพื้นสีตัวเป็นสีดำ ปลายขนเป็นเงาออกเขียวส่วนอื่นๆ เหมือนเพศผู้

5.ไก่ประดู่เลาหางขาว

ff
เพศผู้ ขนพื้นตัวสีดำ ขนปี หางพัดสีขาวปนดำ หางกะลวยกลางสีขาว ส่วนคู่อื่นๆ มีสีขาวปลายดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปี สร้อย หลัง มีสีประดู่เลา คือโคนสร้อยสีขาวปลายสร้อยสีประดู่ ปาก แข้ง เดือย มีสีขาวอมเหลือง ไก่ประดู่เลาหางขาว มี 4 เฉดสี คือ ประดู่เลาใหญ่ ประดู่เลาเล็ก ประดู่เลาแดง และประดู่เลาดำ

6.ไก่เขียวเลาหางขาว

ไก่เขียวเลาหางขาว
เพศผู้ขนพื้นตัวสีดำ และขนปีกหางสีดำ หางกะลวยคู่สีขาว ส่วนคู่อื่นๆ มีสีขาวปลายดำ สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีเขียวเลา คือ ขนสร้อยท่อนล่างสีขาว องปลายสีเขียว ส่วนปาก แข้ง เล็บ สีขาวอมเหลืองหรือขาวงาช้าง มี 3 สายพันธุ์ คือ 1.เขียวเลา ใหญ่พระเจ้า 5 พระองค์ 2.เขียวเลาเล็กหางขาว 3.เขียวเลาดอกหางขาว

7.ไก่ลายหางขาว

ไก่ลายหางขาว
เพศผู้ขนพื้นตัวลาย ขนปีก ขนหางพัดลาย หางกะลวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆ สีขาวปลายลาย ส่วนปาก แข้ง เล็บ เป็นสีขาว อมเหลือง

8.ไก่ขาวหรือไก่ชี

ไก่ขาวหรือไก่ชี
ชีเพศผู้ขนพื้นตัวสีขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง เป็นระย้าสีขาวรับกันกับปาก แข้ง เล็บ และมีเดือย สีขาวอมเหลือง หางดัด กางกะลวยเป็นสีขาว ส่วนลักษณะเพศเมียเหมือนเพศผู้ ไก่ขาวแบ่งตามเฉดสีได้ 4 ชนิด คือ ไก่ชีขาว แพรขาว ขาวกระดำ และขาวกระแดง

9.ไก่นกแดง

ไก่นกแดงbbbb
เพศผู้ขนพื้นลำตัว หน้าคอ หน้าท้อง ใต้ปีกสีแดงเพลิงตลอด ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ด้านขนสีแดง หางพัด หาง กะลวย ก้านหางสีแดง และเป็นรู้หางม้า ปากสีเหลืองอมแดง รับกับสีแข้ง เล็บ และเดือย ไก่นกแดงมี 4 เฉดสี คือ แดงชาด แดงทับทิม แดงเพลิง และแดงนาก ส่วนเพศเมีย ขนพื้นตัว ขนหลัง ขนหาง และขนสร้อยคอ มีสีแดงรับกันตลอดทั้งตัว ปาก แข้ง เดือย เหมือนเพศผู้

10.ไก่เทา

ไก่เทา
เพศผู้มีขนสร้อยคอ สร้อยหลังสีเหลือง หางพัด และหางกะลวยสีเทาปนขาวสลับดำ ขนพื้นตัวสีเทาตลอดส่วนปาก แข้ง เดือยสี ขาวอมเหลือง สีเทาอมดำ เรียกว่า ”เท่าขี้ควาย” สีเทาอมขาวเรียกว่า ”เทาขี้เถ้า” และสีเทาสร้อยเหลือง เป็นไก่เทายอดนิยมเรียก ว่า ”เทาฤๅษี” หรือ ”เทาทอง” เพศเมียขนพื้นตัว ขนหลัง ขนปีก ขนหาง และขนสร้อยคอเป็นสีเทากันตลอดทั้งตัว ส่วนปาก แข้ง เดือย เหมือนเพศผู้

11.ไก่นกกรด

นกกรด
เพศผู้ ขนพื้นลำตัวสีดำสนิท ขนสร้อยคอ สร้อยปี สร้อยหลังระย้าเป็นสีแดงอมน้ำตาลอ่อนๆ ขนหางพัด หางกะลวยสีดำปลอด ไม่มีสีอื่นแซม แต่ก้านขนจะมีสีแดงเข้ม ส่วนปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองแกมแดง ไก่นกกรดแบ่งได้ 4 สี ได้แก่ นกกรดแดง นกกรดดำ นกกรดเหลือง และนกกรดกะปูด ส่วนเพศเมียขนพื้นลำตัวสีน้ำตาลแบบสีกาบอ้อย ขนสร้อยคอ ขนหลัง ขนปีก มีสีน้ำตาล ปลายปีกสีน้ำตาลเข้ม ส่วนอื่นๆ เหมือนเพสผู้

12.ไก่ทองแดง

ทองแดง
เพศผู้ ขนพื้นตัวตั้งแต่บริเวณหน้าคอ หน้าอก ใต้ปีก ใต้องเป็นสีแดง หางพัด กะลวยสีดำสนิทไม่มีสีอื่นแซม หางยาวพุ่งตรง สวยงาม ส่วนปาก แข้ง เล็ด มีสีเหลืองอมแดง ดวงตาสีแดง ไก่ทองแดงหางดำ แบ่งได้ 4 สี ได้แก่ ทองแดงใหญ่ ทองแดง ตะเภาทอง ทองแดงแข้งเขียวตาลาย ทองแดงอ่อนหรือสีปูนแห้ง ส่วนเพศเมียขนสีพื้นตัวด้านล่าง หน้าคอ หน้าอก ในปีก ใต้ท้อง ก้นมีสีแดง และส่วนอื่นๆ เหมือนเพศผู้

13.ไก่พม่า

พม่า
เป็นไก่ที่นำเข้าจากพม่า ตัวเล็กน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม ปากแหลมสีดำ ขนสีดอกหมาก สร้อยคอสร้อยสร้อยปีกเป็นสีดอก หมาก หางสีดำ แข้งเล็กสีดำ หรือบางตัวจะเป็นไก่สีกรดมีความว่องไวมาก กระโดดสูง นิยมเลี้ยงกันทางภาคเหนือ ส่วนภาค อื่นๆ นิยมนำมาเป็นพ่อพันธุ์เพื่อผสมสายพันธ์ตามชั้นเชิงที่ต้องการ

14.ไก่ด่างเบญจรงค์

ไก่ด่างเบญจรงค์
ไก่เบญจรงค์ หรือ ไก่ห้าพระยา มีห้าสีในตัว คือ ขาว ดำ เหลือง แดง เขียว ห้าสกุล
เป็นไก่มงคล สูงสุด มีค่าควรเมือง ไก่เจ้าเลี้ยง ไก่ขุน,พระยาเลี้ยง
ไก่สกุลอื่น ๆ จะเกรงกลัว ถ้าชน ไก่อื่นจะยอมแพ้ง่าย ๆ  ว่ากันว่า
ใครได้เป็นเจ้าของ เลี้ยงไว้หน้าบ้าน  เป็นมงคลสูงยิ่งกว่าไก่อื่นใด เหนือกว่าไก่พระเจ้า๕พระองค์
(ไก่พระเจ้า๕พระองค์ มีสี่สี จตุรงค์) ไก่เบญจรงค์ คุณ สี ๕ ประการ จะนำทรัพย์สินเงินทองมาสู่เจ้าของ เป็นไก่นำโชค โดยแท้ ไก่เบญจรงค์ ไม่ใช่ไก่ด่าง ที่หลุดจากเหลืองหางขาว ไม่ใช่ไก่ด่างเลา เช่นเหลืองเลา เขียวเลา หากแต่ มี ๕ สี จึงเรียก กัน ว่า ด่าง  คือ ด่างด้วยห้าสี เบญจรงค์ มีหลักการดูกว้าง ๆ อยู่ 5 อย่าง หรือ 5 จุด ด้วยกัน คือ
1. ขนสร้อยคอ จะต้องมีครบสามสี ดำ, แดง,เหลือง หรือ ขาว, แดง,เหลือง คือ โคนขนสร้อย สีหนึ่ง(ดำหรือขาว) ช่วงกลางสร้อยสีหนึ่ง(ส่วนมากจะแดง หรือเหลืองใหญ่) ช่วงปลายสร้อยสีหนึ่ง จะเป็น ขาวหรือเหลืองอ่อน
ถ้าขนสร้อยมี มากกว่าหนึ่งสีก็จะดีมาก แต่อย่างน้อยต้องมีสามสี
2.  หาง จะต้องมีสองสี คือ โคนหางสีหนึ่ง ปลายหางสีหนึ่ง รวมเป็นสองสี
3.  หัวปีก จะต้องมีสามสี
4.  แคร่หลัง หรือ สร้อยหลัง จะต้องมีสามสี ต้องมีสามสีเป็นเช่นเดียวกับ สร้อยคอ ถ้ามีมากกว่า สามสีก็ดีมาก
5.  จุดสุดท้ายที่ขนปกหู จะขาดสามสีไม่ได้

15.ไก่เหล่าป่าก๋อย

ป่าก๋อย
ไก่ชนเหล่าป่าก๋อยนั้น เราพอทราบกันอยู่แล้วว่ามีต้นกำเนิดมาจากหมู่บ้านเหล่าป่าก๋อย จังหวัดลำพูน แต่ต้นกำเนิดรากเหง้าเป็นมากันอย่างไร วันนี้เราจะลองไปสืบประวัติกันคร่าวๆ นะครับ ไก่ชนเหล่าป่าก๋อยเริ่มเป็นที่รู้จักในภาคเหนือเมื่ออดีตกาลประมาณปี พ.ศ.2526-2527 (เกือบ 30 ปีมาแล้ว ) แต่ก่อนหน้าที่ไก่ชนเหล่าป่าก๋อยจะเกิดขึ้น ในยุคนั้นเป็นช่วงที่ไก่พม่าเข้ามาเฟื่องฟูทางภาคเหนือของประเทศ
ด้วยความที่การชนไก่ทางภาคเหนือเป็นการชนแบบปล่อยตอ ตอที่ถูกหลาวแต่งจนแหลมคม ด้วยความที่ไก่พม่าเป็นไก่อาวุธดี ตีเร็ว มีแม่น ใช้ตอแทงได้ดี ตีแผลวงแดงเป็นหลัก ตีหู ตีตา แถมด้วยลีลาที่หลุดลอดถอด ถอย รำวง ม้าล้อ ว่ากันง่าย ๆ ก็คือมวยวงนอก ชกแล้วถอยหลอกล่อจนคู่ต่อสู้ที่เป็นไก่ไทยในยุคนั้นสู้ไม่ได้ แพ้เป็นส่วนมาก ชนะน้อย ไก่ไทยทางภาคเหนือตอนนั้นส่วนใหญ่อาจสรุปได้ว่ามีอยู่ 2 เชิงชน เชิงชนแรกจะเป็นไก่ ยืนตี จิ้มตี ปากไว ตีเม่น ตีวงแดง ซึ่งทางภาคกลางเราเรียกว่าไก่โจ้ ยืนแลกแข้งกัน เชิงชนที่ 2 ก็มีลักษณะเป็นไก่เชิง มุดมัด กอดตีลักษณะคล้ายไก่ตราด ทั้งสองลักษณะนี้ เป็นไก่พื้นเมืองของทางเหนือที่คนเหนือเรียกว่า ไก่เมือง ขนาดรอย ก็ส่วนใหญ่ก็มีน้ำหนักอยู่ที่ 2.0 – 2.5 กก.ขาดเกินก็ไม่มากจากนี้สักเท่าไหร่นัก
จากข้อมูลที่ว่ากันว่ามีการนำไก่จันทบุรีหรือไก่ทางภาคตะวันออกของไทยเราที่มีลักษณะเป็นไก่เชิงเข้าผสมกับไก่เมืองเหล่านี้ แล้วเกิดไก่เหล่าป่าก๋อยขึ้นมา ก็อาจมีส่วนถูกอยู่บ้างแต่ก็ไม่แน่ชัดนักครับ เพราะรุ่นแรกๆที่ออกมาถือว่าใช้ได้ แต่รุ่นหลังมาก็เริ่มแย่ลง กระทั่งต่อมาอีกหลายปี เมื่อไก่ผสมข้ามพันธุ์กันไปมาระหว่าง 3 สายพันธุ์ที่กล่าวมาข้างข้นอยู่ระยะหนึ่ง อาจเป็นเพราะเลือดความเป็นนักสู้ในบรรพบุรุษไก่ไทยที่ถูกไก่พม่ารุกรานมานานก่อให้เกิดไก่ที่มีลักษณะมีเชิงชนแบบไก่เชิง มุด มัดตี แต่ที่เพิ่มเติมเข้ามาก็ลักษณะเป็นไก่ที่ปากบอน จิกได้ตรงไหน ตีตรงนั้น คล่องแคล่ว ว่องไว ตีตัวเป็นหลัก ไม่ต้องห่วงหาหัวแล้ว แถมจิกตีแล้วขนหลุดติดปากมาด้วย พอลองเลี้ยงออกชนกับไก่พม่า ปรากฏว่า ไก่พม่าแพ้อย่างราบคาบ ธรรมชาติช่วยเติมเต็มอย่างน่าอัศจรรย์ครับ ไก่พม่าเป็นมวยวงนอก เรียกได้ว่าเป็นมวยสากล ต่อยหนี แย็บหนี แต่ไก่ที่เกิดขึ้นมาเป็นไก่วงใน หรือมวยวงใน เป็นมวยเข่าไร้น้ำใจ คว้าได้เป็นแทง คว้าได้เป็นแทงครับพี่น้อง แต่ตอนนั้นเขาก็ยังไม่ได้เรียกว่าไก่เหล่าป่าก๋อยนะครับ ไก่ลักษณะนี้เริ่มสร้างความประทับใจแก่ผู้พบเห็น พากันโจษจันกันไปทั่ว ว่าไก่อะไรจิกตีไม่เลือก แถมเอาชนะไก่พม่าได้อย่างสวยงามอีกด้วย ในช่วงแรกการเกิดไก่ที่มีลักษณะเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นทุกตัว หากแต่เกิดขึ้นกับไก่บางตัวเท่านั้นและยังไม่ใช่พันธุ์แท้
แต่โดยธรรมชาติของนักเพาะพันธุ์ไก่ชนเมื่อพบเห็นไก่ตัวใดชนชนะก็มักอยากเอาตัวเมียมาผสมด้วยและหากตัวใดออกมากัดตีไม่เลือก เชิงชนดี ตีลำหนัก ชนชนะก็เก็บเอาไว้ทำพ่อพันธุ์ แม่ไหนให้ลูกออกมามีลักษณะอย่างที่ว่าก็เก็บเอาตัวมัน ลูกสาวมันเอาไว้ทำพันธุ์ต่อจากไก่ที่คาบบ่าตีตัว จิกตีไม่เลือกจากหมู่บ้านเหล่าป่าก๋อยหมู่บ้านเดียวผสมไขว้กันไปมา พี่น้องผสมกัน ปู่ผสมหลาน ผสมตามแบบชาวบ้านที่อยากให้ไก่เลือดนิ่ง และอาจเกิดจากพ่อพันธุ์ที่มีลักษณะดังกล่าวมีน้อยตัวในช่วงแรก ทำให้เกิดการผสมแบบเลือดชิดบ้าง(อินบรีด) ผสมในวงศ์ตระกูลเดียวกัน(ไลน์บรีดบ้าง) วันเวลาผ่านไปกว่า 10 ปี ไก่ลักษณะดังกล่าว ก็เริ่มนิ่งลงเหล่า เริ่มที่จะสามารถส่งยีนเด่น ๆ ที่เป็นลักษณะไก่กัด คาบบ่า ตีตัว กัดไม่เลือกที่ได้แล้ว ถึงเวลานี้ (ราวปี พ.ศ.2526) สายพันธุ์แท้อีกสายพันธุ์หนึ่งของไทยก็เริ่มเกิดขึ้น
ผมอยากจะเอ่ยถึงบุคคลที่ล่วงลับไปแล้วท่านหนึ่งที่ทำให้ไก่เหล่าป่าก๋อยเป็นที่รู้จัก เขาคือ นายเดช ปาปวน เป็นชาวบ้านเหล่าป่าก๋อย และเป็นหลานของกำนันแก้ว ปาปวนเป็นผู้ที่ไก่ชนที่มีลักษณะกัดตี จิกตีไม่เลือก คาบบ่าตีลำตัวเป็นหลัก ออกชนตามสนามชนไก่แถวจังหวัดเชียงใหม่ จนเซียนไก่ผู้พบเห็น ประทับใจเชิงชนของไก่ดังกล่าว และสอบถามกันว่าไก่อะไรจิกตีไม่เลือก ไม่มีใครว่าเป็นไก่อะไร รู้แต่ว่ามันมาจากหมู่บ้านเหล่าป่าก๋อย ชาวไก่ชนจึงเรียกไก่ที่มีลักษณะเชิงชนอย่างนี้สั้น ๆ ว่า “ไก่เหล่าป่าก๋อย”
   








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบของการผสมพันธุ์ไก่

วิธีการเลี้ยงไก่สำหรับชน