ระบบของการผสมพันธุ์ไก่

                 ระบบของการผสมพันธุ์ไก่

ระบบใหญ่ ๆ ของการผสมพันธุไก่มีอยู่ 3 ระบบ การที่จะใช้ระบบใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ดำเนินการนี้โดยตรง แบบที่เป็นหลัก ได้แก่
1.  ระบบปรับปรุงสัตว์พื้นเมืองที่มีอยู่เดิมด้วยพันธุ์แท้
2.  ระบบสายเลือดใกล้ชิด
3.  ระบบข้ามพันธุ์หรือตระกูล
1.  ระบบปรับปรุงพันธุ์พื้นเมืองด้วยพันธุ์แท้ วิธีนี้ใช้พ่อพันธุ์แท้กับแม่พันธุ์ทางหรือพื้นเมืองเพื่อถ่ายลักษณะดีจากพ่อพันธุ์ให้ลูกต่อไป แล้วยีนใช้พ่อพันธุ์แท้ พันธุ์เดิม หรือพันธุ์อื่นต่อไป ทุก ๆ ชั่ว เป็นวิธีที่ถูกเงินเพราะลูกที่เกิดขึ้นจะค่อย ๆ ดีขึ้นทุกชั่ว แต่ถ้าเลี้ยงเป็นอาชีพ บางทีก็ไม่ได้ผลอะไรที่ดีขึ้นคุ้มค่านัก เนื่องด้วยไก่สมัยนี้ไม่ว่าพันธุ์แท้หรือลูกผสมมีคุณภาพดีซื้อหา
ได้ง่ายทั่วไป การผสมพันธุ์แบบนี้จึงไม่ค่อยนิยมใช้สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ไก่ แต่เป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งสำหรับปรับปรุงไก่ที่มีคุณภาพเลวในท้องที่ห่างไกลคมนาคม ในชนบทต่าง ๆ เพื่อให้ไก่เดิมมีคุณภาพดีขึ้น ทั้งทางการเจริญเติบโต และการไข่ยังอาจได้ลักษณะบางอย่างจากพ่อแม่พันธุ์อีกด้วย
2.  ระบบสายเลือดใกล้ชิด คือ การผสมพันธุ์ระหว่างเครือญาติสนิทหรือภายในครอบครัว เช่น พ่อกับลูก แม่กับลูก พี่กับน้อง ในการผสมพันธุ์ หากทำการผสมระหว่างสายเลือดใกล้ชิด เช่น ผสมแบบฝูงปิด ซึ่งเป็นการผสมพันธุ์ระหว่างพี่น้องจากพ่อแม่เดียวกันทุกชั่ว เพื่อให้ได้ลักษณะดีบริสุทธิ์ไว้ต่อไป แม้จะเป็นของดีแต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันหลายชั่วนัก เพราะอาจเกิดผลเสียจากการผสมสายเลือดใกล้ชิด เพราะนอกจากจะได้ลักษณะที่ดีไว้ยังมีลักษณะเลวต่าง ๆ ติดมาด้วย และจะแพร่อยู่ในฝูงรุ่นต่อ ๆ ไป อาทิเช่น ความอ่อนแอ การฟักออกน้อยลง หรือพิการ ระบบนี้จึงเปรียบได้กับมีดสองคม ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีก็เป็นผลร้าย วิธีผสมในสายเลือดใกล้ชิด ควรมีหลักเกณฑ์ไนการคัดเลือกและอย่าทำติดต่อกันมากชั่วนัก อย่างไรก็ดี สำหรับการรักษาสายพันธุ์ที่ดีของไก่เล็กฮอร์นขาว นักผสมพันธุ์นิยมแบบปิดฝูงที่มีการคัดเลือกแยกเป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่จะผสมระหว่างสายพันธุ์ให้ดีทั้งคุณภาพและการไข่ดก
3.  ระบบข้ามพันธุ์ ได้แก่
1)  ผสมระหว่าง 2 พันธุ์หรือ 2 ตระกูลในพันธุ์เดียวกัน
2)  เอาลูกที่ได้ระหว่าง 2 พันธุ์ หรือ 2 ตระกูล ไปผสมกับพันธุ์อื่นหรือตระกูลอื่นหรือที่เรียกผสมสามสายเลือด

3)  ผสมระหว่างลูกที่เกิดจาก 2 พันธุ์หรือ 2 ตระกูลฝ่ายหนึ่งกับลูกอีกฝ่ายหนึ่งที่เกิดจาก 2 พันธุ์ หรือ 2 ตระกูลเช่นเดียวกัน หรือที่เรียกว่า ผสม 4 สายเลือด พ่อแม่ที่เริ่มต้นอาจเป็นพันธุ์เดียวกันหรือลูกผสมก็ได้ แต่ต้องเป็นคนละสายพันธุ์ (strain) หรือคนละตระกูลหรือครอบครัว (family) ที่ได้คัดเลือกให้มีลักษณะพิเศษประจำสายพันธุ์หรือตระกูลนั้นๆ เมื่อผสมระหว่างสายพันธุ์หรือตระกูลครั้งหนึ่งก็เท่ากับรวมความดีของสายเลือดต่าง ๆ เข้าไว้ในชั่วลูก ต่อไป
การผสมสี่สายเลือดนี้ ใช้ปรับปรุงสร้างพันธุ์ข้าวโพดเป็นการค้าได้สำเร็จก่อนพืชพันธุ์อื่น ๆ ต่อมามีผู้นำวิธีนี้ไปใช้ในพืชอื่นด้วย ไก่กระทงระยะแรกก็สร้างขึ้นมาโดยวิธีนี้ และขั้นต่อมาจึงแยกการคัดเลือกเป็นสายเลือดพ่อและสายเลือดแม่ โดยแยกกันก่อนที่จะผสมเอาลูกไก่ เป็นการค้า

ประโยชน์ของการผสมข้ามพันธุ์
1)  เพื่อให้รู้เพศจากลักษณะภายนอกของลูกไก่ เช่น โรดกับบาร์ ไวยันดอทกับบาร์ เหมาะสำหรับบางลักษณะที่มีความสัมพันธุ์กับเพศ
2)  ช่วยให้ได้ลูกไก่แข็งแรงขึ้น
3)  ช่วยให้ได้ไก่ไข่ดกขึ้น
4)  ลูกผสมโตเร็วเลี้ยงง่าย
5)  เก็บรวบรวมความดีของแต่ละพันธุ์มาผสมคัดเลือกให้ได้พันธุ์ใหม่
นอกจากการผสมพันธุ 3 แบบนี้แล้ว ยังมีวิธีต่าง ๆ พลิกแพลงต่อไปอีก โดยอาศัยของ หลักแบบเดิมนั้นเอง แต่มีความมุ่งหมายเฉพาะอย่าง เช่น
ก. การผสมระหว่างคนละตระกูลหรือสายเลือด เช่น ในพันธุ์เดียวกัน เพื่อเก็บลักษณะดีไว้และลดลักษณะเลวของอีกสายเลือดหนึ่งลง
ข. ผสมระหว่างลายเลือดนอกฝูงในพันธุ์เดียวกัน โดยเลี้ยงแต่แม่ไก่แล้วหมั่นหาไก่ตัวผู้ที่ดีจริง ๆ จากของผู้อื่นมาใช้เป็นพ่อพันธุ์ วิธีเหมาะสำหรับโรงฟักไข่ทั่วไป เพื่อปรับปรุงคุณภาพไก่ในฝูงให้ดีอยู่เสมอ โดยไม่ต้องเสียเวลามากกับการดูแลคัดเลือกพันธุ์นัก
ค. ผสมกลับ ใช้ลูกมาผสมกับพ่อหรือแม่พันธุ์แท้เดิม วิธีนี้ใช้ไม่ทั่วไป นอกจากเป็นวิธีพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของสายเลือดหรือพิสูจน์บางลักษณะ เป็นงานของนักพันธุศาสตร์ จะต้องทำเพื่อพิสูจน์ผลอยู่เสมอ ๆ
ง. ผสมระหว่างสายเลือดชิดคนละพวกหรือพวกเดียวกัน  ผสมระหว่างลูกผสม 2 จำพวก ซึ่งแต่ละพวกก็เป็นลูกผสมจากคนละพันธุ์หรือพันธุ์เดียวกันที่เป็นเครือญาติกัน
ไก่ที่ได้จากการผสมนี้โดยมากมีคุณภาพดี เพราะได้รวมลักษณะที่ดีจากแต่ละบรรพบุรุษของตนมารวมกัน ข้อเสียของวิธีนี้จะปรากฏขึ้นถ้าหากไม่มีการบันทึกเพื่อเก็บสถิติประวัติไว้สำหรับคัดเลือกรุ่นต่อไป ก็ไม่มีทางปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้นอีกเป็นวิธีปัจจุบัน ฟาร์มไก่ใหญ่ ๆ ทำลูกไก่ออกขาย ลูกไก่เหล่านี้ไม่ใช่พันธุ์แท้ ผู้อื่นจะเอาไปขยายพันธุ์ให้มีคุณภาพดังเดิมก็ไม่ได้ นอกจากฟาร์มต้นตอที่ทำลูกผสมชั่วแรกนี้เท่านั้น เพราะเขามีสถิติของสายพันธุ์ต่าง ๆ ไว้
ฉ. ผสมกันระหว่างไก่ภายในฝูงเท่านั้น บางคนเรียกว่าผสมแบบฝูงปิด เริ่มตั้งแต่คัดเลือกและแยกไก่เป็นฝูงย่อย ๆ แล้วทำการคัดเลือกแต่ละฝูงหรือครอบครัวตามสายเลือดในฟาร์มเดียวกัน ไม่นำไก่ใหม่จากที่อื่นเข้ามาอีก
ซ. ผสมแบบเวียนพ่อพันธุ์ให้ทั่วฝูงตัวเมีย เพื่อพิสูจน์ความสามารถของพ่อแม่พันธุ์ในเวลาเดียวกัน ทำได้โดยแบ่งตัวเมียเป็นฝูงเล็ก ๆ พอสำหรับตัวผู้ 1 ตัว จำนวนฝูงตัวเมียนี้ เท่ากับจำนวนตัวผู้ที่มีอยู่แล้วเวียนตัวผู้ให้ได้ผสมกับตัวเมีย 2-3 ฝูงหรือกว่า เปรียบเทียบพิสูจน์ผลชั่วลูกเพื่อให้รู้ว่าพ่อไหนแม่ไหนให้ลูกดีเพื่อจะคัดไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป
ฌ. ผสมแบบสลับเพศพ่อแม่พันธุ์เพื่อตั้งตระกูลใหม่ วิธีนี้เป็นวิธีใหม่ที่สุดของการผสมพันธุ์ไก่ เลี่ยงการผสมระหว่างสายเลือดชิด และทิ้งลักษณะที่ไม่ดีด้วยการตรวจความสามารถของชั่วลูกให้รู้แน่เสียก่อนที่จะเอามาตั้งต้นสร้างตระกูลใหม่ต่อไปในปีที่ 2 ดังภาพ

ในการคัดเลือกผสมพันธุ์ไก่ไข่เป็นการค้าสมัยนี้ ต้องถือความต้องการของตลาดเป็นหลักสำคัญ เช่น บางแห่งนิยมไข่เปลือกขาว บางแห่งก็นิยมไข่เปลือกสีนํ้าตาล จึงมีวิธีการและเทคนิคเฉพาะเกิดขึ้น แบ่งเป็นสายพันธุ์ไข่เปลือกขาวและสายพันธุ์ไข่เปลือกสีนํ้าตาล แต่ละพวกนี้ต่างก็ดำเนินการสร้างสายพันธุ์ของตนขึ้นมาตามแหล่งพันธุ์เดิมหรือสร้างสายพันธุ์ลูกผสม ขึ้นใหม่ อาทิเช่น.
ก. สายพันธุ์ไข่เปลือกขาว
1.  คัดเลือกภายในสายพันธุ์เดียวด้วยพันธุ์เล็กฮอร์นขาว คัดเลือกผสมพันธุ์แบบปิดฝูง กล่าวคือ ไม่นำเลือดภายนอกฝูงเข้ามา แต่จะคัดจากไก่ที่ไข่ครบปีที่มีความดีเด่นในลักษณะ ต่าง ๆ เช่น
นํ้าหนักตัว   นํ้าหนักไข่
การเจริญเติบโต    การไข่ปีแรก
การเลี้ยงรอดของไก่เล็ก  ลักษณะเปลือกไข่
คุณภาพของไก่สาว         คุณภาพภายในไข่
อายุเริ่มไข่    การเลี้ยงรอดถึงโตเต็มที่
2. คัดเลือกผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ที่ต้องการ เพื่อผลิตเป็นลูกไก่สายพันธุ์ไข่
3.  ผสมระหว่าง 2 สายเลือด อาศัยเหตุผลว่าการผสมข้ามสายเลือดจะช่วยให้เกิด เฮทเตอโรซิส คือ ได้ลูกผสมชั่วแรกที่แข็งแรง โตเร็ว ให้ผลผลิตดี จึงแยกสร้างเป็นสายเลือด พ่อกับสายเลือดแม่ให้มีความดีเด่นต่างกัน แล้วจึงเอามาผสมเอาลูกเป็นการค้า อาทิเช่น คัดเลือกลักษณะดีเด่นใหญ่ ๆ ของแต่ละฝ่ายดังนี้
สายเลือดพ่อ                             สายเลือดแม่
แข็งแรง เลี้ยงรอดสูง                 ไข่ดก
ร่างกายใหญ่โต                         เปลือกไข่ดี
ขนาดไข่ดี                                คุณภาพภายในไข่ดี
เมื่อผสมได้ลูกแล้ว ลูกตัวเมียจะต้องมีคุณภาพดังนี้ เลี้ยงรอดสูง ตัวค่อนข้างโต ขนาดไข่ดี ไข่ดก เปลือกไข่ดี คุณภาพภายในไข่ดี
4.  ผสมระหว่าง 3 สายเลือด เป็นการเพิ่มความดีของอีกหนึ่งสายเลือดเข้าไปในลูกผสม 2 สายเลือดในข้อ 3
5.  ผสม 4 สายเลือด ทำนองการคัดเลือกสร้างพันธุ์ข้าวโพดดังกล่าวแล้ว คือ รักษา 4 สายเลือดแยกกัน แล้วผสมทีละคู่ เอาลูกผสมจากคู่ที่ดีมาผสมเอาลูกไก่ขาย
6.  ผสมระหว่างสายเลือดชิดที่แยกคัดเลือกผสมพันธุ์มาเป็นอย่างดีแล้วหลายหลายชั่ว ต่อมาจึงผสมระหว่างสายเลือดชิดที่ดีผลิตลูกไก่เป็นการค้าต่อไป
มีศัพท์ที่นิยมใช้ในระหว่างนักผสมพันธุ์สัตว์ ขอใช้ในที่นี้ว่าได้ผลดีเลิศหรือ nick การที่จะให้ปรากฏผลเช่นนี้ มิใช่ว่าจะเอาสายเลือดใดพันธุ์หรือสายพันธุ์ใดผสมกันก็จะได้ผลดังกล่าวจะต้องผสมดูหลาย ๆ คู่ที่ดีกันคนละแง่ แล้วดูผลว่าคู่ใดที่จะได้ลูกผสมที่มีลักษณะที่ต้องการ ดีกว่าคู่อื่น หรือได้ผลดีที่สุด
ข. สายพันธุ์ไข่เปลือกสีนํ้าตาล
ไก่ประเภทนี้ลำตัวโตกว่าพวกไข่เปลือกขาวราว  30-50% ให้ไข่ขนาดโตกว่า แต่ถ้าเทียบทุนค่าอาหารต่อฟองก็สูงกว่าด้วย แต่การไข่ดกนั้น พอ ๆ กัน หลักการคัดเลือกโดยที่ไข่อันดับแรกก็จะต้องแยกคัดเลือกให้ได้แต่ละสายพันธุ์ที่ไข่ดก  จากไก่ที่เปลือกไข่สีนํ้าตาล เช่น โรด บาร์ งานขั้นถัดไปก็มักจะเลือกผสมให้คัดเพศได้จากการดูขนลูกไก่วันแรก อาทิเช่น สายเลือดพ่อเป็นโรด สายเลือดแม่เป็นบาร์ ลูกผสมตัวผู้ตัวดำหัว  มีจุดขาวชัด ลูกตัวเมียตัวดำไม่มีจุดขาวชัดบนหัว
อีกตัวอย่างหนึ่ง ต้องการให้ได้ลูกตัวเมียสีทอง ตัวผู้สีขาว ก็อาจใช้สายเลือดพ่อเป็นโรด  สายเลือดแม่เป็นพวกขนสีเงินหรือขาว
สมัยหลัง ๆ นี้มีผู้เพียรสร้างพันธุ์ไก่ขนาดย่อม (mini bird) ตัวโตกว่าไก่แจ้แต่เล็กกว่า ไก่ธรรมดาราว 5-10% เมื่ออายุ 8 อาทิตย์หรือ 15-25%เมื่ออายุ 6-7 เดือน กินอาหารน้อยกว่า ไข่เล็กกว่าราว 10% อีกพันธุ์หนึ่งเป็นไก่แคระสายพันธุ์ไก่เนื้อ อ้างว่าไข่ดี กินน้อย ให้ลูก อย่างไรก็ดี พันธุ์เหล่านี้ไม่เป็นที่นิยมกันทางอาชีพขนาดใหญ่
งานศึกษาทดลองต่าง ๆ เป็นงานที่สถาบันต่าง ๆ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะเว้นเสียไม่ได้ เพราะลำพังกสิกรจะทำการทดลองเองนั้นย่อมสิ้นเปลืองทั้งทุนและเวลา งานทดลองเหล่านี้จึงควรเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยและสถานีทดลองต่าง ๆ เมื่อทดลองเสร็จจึงพิมพ์ลงเอกสารเผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป
ตัวอย่างเก่า ๆ จากบางรายงานทางเอกสารของสถาบัน มหาวิทยาลัย และของกระทรวง  เกษตรสหรัฐอเมริกา ได้เสนอผลการค้นคว้าทดลองไว้ในรูปการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ อาจ  สรุปเป็นเรื่องสั้น ๆ ดังนี้
1.  ฝูงไก่ที่มีอัตราตายสูงในระยะแรกๆ ก็ย่อมมีอัตราตายสูงในระยะไก่ไข่ด้วย
2.  ในการเลี้ยงไก่ตั้งแต่อายุน้อยจนเป็นไก่ใหญ่ ปรากฏว่าไก่ที่ไข่ดีมักมีอัตราตายน้อยที่สุด
3.  ในอายุไข่ปีแรก ไก่ที่ไข่เร็วย่อมไข่ได้มากฟองกว่าไก่ที่ไข่ล่ากว่า
4.  ฝูงไก่ที่เปอร์เซ็นต์การไข่ของฝูงดีย่อมเป็นฝูงที่ไข่ดก
5.  ฝูงไก่ที่หยุดไข่ก่อนย่อมให้ไข่น้อยกว่าที่หยุดทีหลัง
6.  ไก่อายุน้อย ไข่มีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นนํ้าหนักตัวดีกว่าไก่อายุมาก
7.  การผสมข้ามพันธุ์ย่อมได้เปอร์เซ็นต์ไข่ฟักมีเชื้อสูงกว่า
8.  ฯลฯ.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สายพันธุ์ไก่ชน

วิธีการเลี้ยงไก่สำหรับชน